by

ลวดสลิง ยกของ และอุปกรณ์ยกของที่จำเป็นในการต่อลวดสลิงหรือทำห่วง

ลวดสลิง Wire Rope Sling

  • ลวดสลิงมีคุณสมบัติแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการใช้งาน อันได้แก่ ลวดสลิง ที่แบบเคลื่อนที่ จะเป็นลวดสลิงแบบทั่วไป โดยถูกวางบนลูก รอกทด หรือลูกกลิ้ง ลวดสลิง แบบนี้จะได้รับแรงเค้นโดยการบิดเป็นหลัก และรองการดึง  ต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 6
  • ลวดสลิงยึดโยง ที่ใช้งานอยู่กับที่ ต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 3.5 
  • ลวดสลิงที่นำมาผูกรัดวัสดุ ต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 5

ราคาสเก็น สเก็นโอเมก้า Shackle

 

โครงสร้างของเชือกลวดสลิง

ลวดสลิงประกอบด้วย


* ลวดเหล็กกล้า(wire)จะเป็นเส้นลวดขนาดเล็กสามารถทนแรงดึงได้สูง มีสภาพดัดโค้งงอได้ เป็นส่วนที่ย่อยที่สุด


* ลวดตีเกลียว(strand)กลุ่มเกลียวที่เกิดจากการรวมตัวของเส้นลวดหลายๆเส้น มาทำเกลี่ยวรวมกัน


* แกนลวดสลิง(core)มีอยู่ด้วยกันสองชนิด คือชนิดที่เป็นไฟเบอร์ (Fibre Core)และชนิดที่เป็นลวดเส้นใหญ่(Wire Core) อยู่ตรงใจกลางของลวดสลิง


 


 

จำนวนเส้นลวดของลวดตีเกลียวแต่ละเกลียวของเชือกลวดเหล็กกล้าจะแตกต่างกัน ขึ้นกับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน โดยเชือกลวดเหล็กกล้าจะระบุเป็นจำนวนเกลียวของลวดตีเกลียว และบอกถึงจำนวนลวดเหล็กกล้าในลวดตีเกลียวแต่ละเกลียว เช่น 6×19 หมายถึง เชือกลวดเหล็กกล้าที่มีจำนวนลวดตีเกลียว 6เกลียว และในแต่ละเกลียวจะประกอบด้วยลวดเหล็กจำนวน 19เส้น
 
นอกจากนี้ขนาดของลวดตีเกลียวในแต่ละเกลียวมีทั้งที่มีขนาดเท่ากัน และต่างกัน โดยมีรูปแบบการใช้งานอยู่ 5 แบบใหญ่ๆ ดังนี้
 
       1. Ordinary : เป็นแบบที่ลวดมีขนาดเท่ากันหมด ซึ่งการใช้งานที่นิยมที่สุดจะใช้ลวดเหล็ก 7 เส้นในลวดตีเกลียว 1 ขด (7-wire strand)
       2. Seale (สัญลักษณ์ S) : เป็นแบบที่ลวดตีเกลียว 2 ชั้นรอบแกน โดยขนาดของลวดในลวดตีเกลียวชั้นนอกจะใหญ่กว่าด้านใน เพื่อผลของความต้านทางการเสียดสี และขนาดลวดด้านในที่เล็กกว่า จะเพิ่มความสามารถในการยืดหยุ่น (flexibility)
       3. Warrington (สัญลักษณ์ W) : เป็นแบบที่ลวดตีเกลียวมีทั้งขนาดใหญ่และเล็กรวมกันในชั้นนอกของลวดตีเกลียวส่วนชั้นในของลวดตีเกลียว ประกอบด้วยลวดขนาดเดียวกัน และมีจำนวนครึ่งหนึ่งของจำนวนลวดชั้นนอก
       4. Filler wire (สัญลักษณ์ Fi) : เป็นแบบที่ลวดตีเกลียวทั้ง 2 ชั้นมีขนาดเท่ากัน โดยจำนวนลวดเหล็กชั้นนอกจะมากกว่าชั้นใน 2 เท่า และมีลวดเล็กๆ แทรกอยู่ในช่องว่างของทั้ง 2 ชั้น และมีจำนวนเท่ากับจำนวนลวดเหล็กชั้นใน
       5. Combination : เป็นรูปแบบการตีเกลียวที่ผสมกันระหว่างแบบ Seale, Warrington และ Filler wire
สำหรับแกนของเชือกลวดเหล็กกล้า จะทำหน้าที่รักษารูปทรงของเชือกลวดเหล็กกล้าให้กลม และรักษาให้ลวดตีเกลียวอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมในระหว่างการใช้งาน ซึ่งส่วนใหญ่แกนที่เลือกใช้จะมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ
  • แกนที่เป็นเชือกลวดเหล็กกล้า (Independent wire rope core : IWRC) แกนที่เป็นเชือกลวดเหล็กกล้าจะเพิ่มความแข็งแรง ช่วยต้านทานต่อการกระแทก และต้านทานต่อความร้อนได้สูงที่สุด ซึ่งการใช้งาน IWRC จะใช้เป็นแกนขนาดเล็ก สำหรับผลิตเชือกลวดเหล็กกล้าขนาดใหญ่
  • แกนที่เป็นลวดตีเกลียว (Wire strand core : WSC) จะมีความต้านทานต่อความร้อนมากกว่าแกนที่เป็นไฟเบอร์ และเพิ่มความแข็งแรงให้กับเชือกลวดประมาณ 15% แต่ทำให้มีความยืดหยุ่นที่น้อยกว่าแกนที่เป็นไฟเบอร์
  • แกนที่เป็นไฟเบอร์ (Fiber core : FC) ส่วนใหญ่ใช้เป็น polypropylene (PP) หรือ polyvinylchloride (PVC) ซึ่งมีข้อได้เปรียบคือเพิ่มให้ความยืดหยุ่น (flexibility) ให้สูงขึ้น และช่วยรองรับแรงค่าความเค้นที่เกิดจาก shock loads นอกจากนี้ยังป้องกันความเสียหายจากการกัดกร่อน (เนื่องจากไม่ดูดซับความชื้น) ผุ (rot) และทนต่อสภาพกรดหรือด่างอ่อนๆ ได้

 

 
ลวดสลิงมีจำหน่ายกันในท้องตลาดนั้นจะมาเป็นม้วนใหญ่ยาว เมื่อจะนำมาใช้จึงต้องตัดให้ได้ความยาวที่เหมาะกับการใช้งาน เมื่อตัดลวดสลิงส่วนปลายของลวดสลิงนั้นจะแยกออกจากกันทันทีเมื่อถูกตัดและไม่สามารถที่จะใช้ต่อกับอุปกรณ์ต่างๆได้
 

วิธีการตัด ลวดสลิง

  • มัดขดลวดสลิงทั้ง2จุด โดยให้ปลายของลวดที่มัดห่างจากกันเท่ากับระยะขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของขดลวดสลิง
  • เก็บปลายลวดที่มัดให้เรียบร้อย
  • ทำการตัดขด ลวดสลิง ที่กึ่งกลาง ระหว่างที่มัดลวดทั้งสองด้าน

 

ถ้าปลายลวดสลิงจะแตกออกจากกลุ่มลวด ถ้าเกิดลักษณะเช่นนี้ให้ใช้ลวดมัดตรงส่วนที่ยังไม่มีการแตกตัวของกลุ่มแล้วทำการตัดปลายลวดส่วนที่แตกออกจากขดลวด

 

การทำห่วงด้านปลายของลวดสลิง

  • ห่วงชนิด Flemish Eye หรือ Eye Splice 
    เป็นการขึ้นรูปห่วง โดยทำการแยกขดลวดเป็นสองกลุ่มแล้วถักพันกลับเข้าเป็นห่วง แล้วใช้ปลอกเหล็ก รูปทรงกระบอกหุ้มข้อไว้ จากนั้นใช้เครื่องมือกลในการรัดให้แน่นกับลวด
  • ห่วงชนิด Turnback เป็นการขึ้นรูปห่วง โดยการม้วนสลิงกลับมาทบกัน แล้วใช้ปลอกเหล็ก รูปทรงกระบอกหุ้มข้อไว้ จากนั้นใช้เครื่องมือกลในการรัดให้แน่นกับลวด
 

อุปกรณ์ที่ใช้ป้องกัน ลวดสลิง เสียหาย

ห่วงวงรี หรือ ห่วงหัวใจ Thimbles กับการใช้งาน

ห่วงวงรี ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกัน ลวดสลิง ไม่ให้ถูกขูดขาดหรือแตกเกลียวจากการเสียดสี ที่เกิดขั้นในขณะใช้ยกอุปกรณ์ร่วมกับ ตะขอยก Hook และ สเก็น Shackle

 
เมื่อลวดสลิงถูกม้วนเป็นห่วงปลายนั้น มีโอกาสที่ลวดสลิงอาจจะถูกบิดแน่นเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อห่วงนั้นต่อกับอุปกรณ์ที่กระจายน้ำหนักกระทำกับพื้นที่เล็กๆของลวดสลิง  ดังนั้นห่วงหัวใจจะถูกใส่เข้าไปในห่วงปลายเพื่อจะรักษารูปทรงของห่วงและป้องกันสายลวดสลิงเสียหายจากแรงกดภายในห่วง การใช้ห่วงหัวใจนั้นเป็นวิธีการที่ดีที่สุด Best Practice ซึ่งช่วยป้องกันแรงกระทำต่อหน้าสัมผัสกับลวดสลิงโดยตรง 
ลวดสลิงเกลียวขวา (RHOL) เข้าหัวกับห่วงหัวใจและอัดปลอก

 

คลิปจับลวดสลิง (wire rope clamps/clips)กับการใช้งาน

คลิปจับลวดสลิง ใช้สำหรับยึดปลายของห่วงเข้ากับเส้นลวดสลิง ตัวคลิปจับนั้นประกอบไปด้วยโบลต์รูปตัวยู (ยูโบลต์ U bolt), ตัวรองทำจาก เหล็กหล่อและน็อต 2 ตัว ลวดสลิงสองเส้นจะวางรัดอยู่ในตัวยูโบลต์ ตัวรองนั้นจะรองรับตัวลวดสลิงเข้ากับโบลต์ (ตัวรองมี 2 รู เพื่อร้อยใส่กับ ตัวยูโบลต์) จากนั้นน็อตจะยึดลวดสลิงเข้าด้วยกัน โดยทั่วไปการเข้าหัวลวดสลิงนั้นจะใช้คลิปจับ 2-3 ตัว แต่สำหรับลวดสลิงขนาด 2 นิ้ว (50.8 mm) นั้นจะต้องใช้คลิปจับถึง 8 ตัว ดังสำนวนที่ว่า “be sure not to saddle a dead horse” ซึ่งหมายความว่า เวลาติดตั้งคลิปจับ ตัวรองของคลิปจับ นั้นจะอยู่บนลวดสลิงเส้นที่รับน้ำหนัก หรือด้านที่ใช้งาน (“live” side) ไม่ใช่อยู่บนด้านที่ไม่ได้รับน้ำหนัก (“dead” side) 

คลิปจับลวดสลิงมี 2ประเภท

  • คลิปที่มีอานม้าตัวเดียว   Single Saddle
  • คลิปที่มีอานม้าตัวสอง    Double Saddle

 

Single Saddle                                    Double Saddle

ขั้นตอนการใช้คลิป ล็อกลวดสลิง  

  • ทบลวดสลิงให้ได้ตามมาตราฐานที่กำหนด ขนาดลวสลิง สัมพันธ์กับความยาวทบตามตารางด้านล้าง
  • ใส่คลิปตัวที่ 1 จากทางด้านปลายสุด
  • แล้วใส่ห่วงวงรี Thimbles ที่ห่วงลวดสลิง
  • ใส่คลิปตัวที่ 2 ใส่ ที่ปลายห่วงวงรี Thimbles
  • ใส่คลิปตัวที่ 3 ใส่ให้อยู่กึ่งกลางระหว่างคลิปตัวที่1 และ 2
  • ทำการล็อคคลิปให้แน่น โดยใช้ประแจขัน 

( มาตรฐานระยะห่างระหว่างคลิป แต่ละตัวจะมีระยะห่างเท่ากับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลวดสลิงคูณด้วย 6 )

 

สเก็น Shackles กับการใช้งาน

ห่วงสเก็น ใช้เพื่อประกอบชิ้นงานเข้ากับลวดสลิง ในลักษณะงานเคลื่อนย้าย
สเก็น มี2รูปแบบคือ Dee Shackle และ Bow Shackle
แต่มีสลักของ สเก็น มี3แบบคือ
 
  1. Screw Pin  ชนิดที่ปลายสลักด้าหนึ่งเป็นเกลี่ยวเพื่อขันยึดเข้ากับตัวห่วง
  2. Bolt Pin  ชนิดที่สลักเป็นเกลียวและมีน็อตประกอบที่ปลายด้านหนึ่ง และใส่ปริ้นล็อดที่ด้านปลายของสลัก  
  3. Round Pin ชนิดที่เป็นสลัก ปลายด้านหนึ่งมีรูสำหรับปริ้นล็อค

 

Dee Shackle                        Bow Shackle
สเก็น ยกของ สะเก็น ยกของ
Screw Pin Shackle             Bolt Pin Shackle         Round Pin Shackle
การใช้งานสเก็น ต้องให้ลวดสลิงทำมุมอยู่บริเวณส่วนโค้งของห่วงสะเก็น และไม่ห้ามใช้วัสดุอื่นมาทำแทนสลัก
Screw Pin Shackle Bolt Pin Shackle Round Pin Shackleเลือกใช้สะเก็น ที่มีสลักเป็นเกลี่ยวและน็อตที่ปลายและมีปริ้นล็อคสำหรับงานที่มีโอกาสการเคลื่อนตัวของสลักหรือใช้สำหรับงานประจำที่ใช้งานเป็นระยะเวลานาน                          เลือกใช้สเก็น ที่มีสลักเป็นเกลี่ยวสำหรับการใช้งานชั่วครา


Eye Bolt และ Eye Nut กับการใช้งาน การใช้ eye bolt ต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 3.5 เมื่อติดตั้งในช่องเกลียวที่จัดทำขึ้น และขันสลักให้แน่นตามขนาดที่กำหนด เมื่อประกอบเข้าไปแล้วส่วนของบ่าจะต้องสัมผัสกับชิ้นงานทั้งหมด ในกรณีบ่าของ eye bolt ไม่สามารถสัมผัสกับชิ้นงานให้ใส่แหวนรองบ่าและทำการขันให้แน่น

อุปกรณ์ที่นำมาคล้องเข้ากับหูยกเมื่อทำมุมองศาไม่ถูกต้องจะทำให้ขีดความสามารถในการใช้งานลดลง

 

โซ่ Chain กับการใช้งาน 

โซ่ เป็นอุปกรณ์ปะกอบการยกอีกชนิดหนึ่งที่ใช้กันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะใช้กับการเกาะยึดวัสดุหรือชิ้นงานต่างๆ โดยปกติ โซ่ จะมีความแข็งแรงสามารถทนแรงดึงได้มากกว่า ลวดสลิง ที่มีขนาดโตเท่ากัน โซ่ จะต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า4.0  

ก่อนการใช้งานโซ่ ต้องทำการตรวจสอบโซ่ทุกข้อเพื่อดูการสึกหรอ รอยบาก รอยกัดเซาะ การยืดตัว การบิดตัว งอตัวหรือขาด และต้องมั่นใจว่าข้อต่อจุดต่อของ โซ่ ทุกจุดมีความแข็งแรงตามค่าความปลอดภัย 



ข้อควรระวังในการใช้โซ่ 

  • ห้ามบิดพันหรือขด โซ่เพื่อต้องการให้สั้นลง
  • ขณะทำการยกให้ยกอย่างราบเรียบสม่ำเสมอไม่ให้เกิดแรงกระคุก
  • ต้องรู้ขนาดของวัสดุที่จะทำการยก ต้องไม่เกินขีดความสามารถของโซ่
  • เมื่อใช้โซ่รัดสินค้าที่มีคม ต้องใช้วัสดูรองมุมคมป้องกัน โซ่ คดบิดงอหรือขาด
  • ห้ามใช้อุปกรณ์ประกอบโว่ที่ผลิตขึ้นเองเช่น ห่วงโซ่ เป็นต้น
  • ห้ามนำโซ่ หรืออุปกรณ์ต่อโซ่ ถูกความร้อนสูง
  • หมั่นตรวจสอบ โซ่ อย่างน้อยเดือนละครั้ง  

 

 
 
 
 
 
บทความที่เกี่ยวข้องกัน
 
 
 
ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.siamsafety.com
Share

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*